กินคาว ต้องกินหวาน เพื่อสุขภาพ หรือความสุข?

257 Views  | 

กินคาว ต้องกินหวาน เพื่อสุขภาพ หรือความสุข?

 

            แม้ว่าในปัจจุบันจะเป็นยุคที่คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หลายคนยังคงเคยชิ้นกับการ “กินคาว ต้องกินหวาน” อยู่ บางคนถึงขนาดที่ยอมอดอาหารมื้อหลัก หรือทานอาหารมื้อหลักในน้อยลงเพื่อให้สามารถทานของหวานได้มากขึ้น แต่บอกเลยว่านั้นเป็นความคิดที่ผิดมหันต์ เพราะนั้นจะทำให้เราได้รับปริมาณน้ำตาลที่มากจนเกินกว่าความต้องการของร่างกายเราเอง

            แล้วทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่าทำไมหลังจากทานอาหารมื้อหลักเสร็จแล้ว เราถึงรู้สึกอยากกินของหวานตามไปด้วยละ?

 



 

ทำไมถึงอยากทานหวาน หลังมื้ออาหารหลัก

          1. ติดเป็นนิสัย : การกินของหวานหลังจากทานอาหารคาวมื้อหลักเรียกได้ว่าเป็นความเคยชินของคนไทยเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าทานอาหารมื้อหลักมาหนักหน่วงแค่ไหน แต่ก็ไม่เคยที่จะพลาดทานของหวานตบท้ายเสมอ หากไม่ทานจะรู้สึกว่าขาดอะไรไป นั้นทำให้เกิดเป็นพฤติกรรมและนิสัยที่ต้องกินเพื่อให้รู้สึกดีนั้นเอง

          2. ทานอาหารมื้อหลักไม่เพียงพอ : ถ้าคุณทานอาหารน้อยเกินไป หรือ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะทำให้ฮอร์โมนความหิวส่งสัญญาณให้ร่างกายรับรู้ ว่าต้องการจะทานอาหารเพิ่ม และของหวานก็เป็นอาหารที่กระตุ้นความอยากอาหารได้ดีทีเดียว

          3. ทานอาหารเร็วเกินไป : การทานอาหารเร็วเกินไปก็เหมือนการดูหนังจบภายในครึ่งชั่วโมง เพราะเราจะพลาดการลิ้มรสชาติของอาหารที่เราทานเข้าไป และไม่นานจากมื้ออาหารหลักคุณก็จะรู้สึกหิวอีกครั้ง และด้วยความเคยชินจึงมองหาของหวานมาเติมเต็มนั้นเอง

 

 

ผลเสียต่อร่างกายที่ตามมา

            การทานน้ำตาลในปริมาณมาก จนเกินความต้องการของร่างกายต่อวันนั้นทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และเสี่ยงต่อโรคอ้วน เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ แก่ก่อนวัย และฝันผุได้

แก้ไขได้อย่างไร

            1. ทานอาหารให้เพียงพอ : การทานอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายก่อนจะช่วยให้รู้สึกอิ่มสบายท้อง และพยายามเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์และดีต่อระบบย่อยอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน อย่างข้าวกล้อง หรือขนมปังโฮลวีท

            2. เลือกทานของหวานที่มีประโยชน์ : หากว่าท้ายที่สุดแล้วคุณยังคงอยากทานของหวานอยู่ แนะนำให้ทานในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการต่อวัน และเลือกทานความหวานที่มีประโยชน์และได้สารอาหารแทน เช่น ผลไม้ที่มีน้ำตาลไม่สูงมากนัก หรือโยเกิร์ต เป็นต้น

 

สำหรับคนที่ต้องการลดปริมาณน้ำตาล ไม่ควรลดแบบหักดิบ เพราะจะล้มเหลวง่าย แนะนำว่าให้ค่อยๆ ลดลงจนร่างกายสามารถรับน้ำตาลได้น้อยที่สุด โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทาน เน้นการทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีสารอาหารที่ครบถ้วน

แหล่งที่มา

https://www.beartai.com/life/health/1207357

https://www.sanook.com/women/244461/

 

This website uses cookies. To increase efficiency and good experience in using your website. You can read more details at